ค้นหา

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Web 2.0 Design

เรามาดูกันเถอะว่า ส่วนประกอบของดีไซน์ยุคใหม่นั้นมีอะไรกันบ้าง
  1. เรียบง่าย

    ความเรียบง่ายหมายถึงการใช้จำนวน pixel ตามที่ต้องใช้เพื่อให้สื่อสารสิ่งที่ต้องการให้ได้และในการสื่อสารนั้นก็ประกอบไปด้วย ข้อมูลหลัก hard data และ เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ soft information
    ตัวอย่างของข้อมูล
    • Hard data – ข้อมูล สาระ เนื้อหาสำคัญที่ต้องการจะสื่อ เช่น ข่าว ราคาสินค้า ตารางเวลารถไฟ
    • Soft Information – ความรู้สึก บรรยกาศของหน้าเว็บ เปรียบเทียบได้กับความรู้สึกเมื่อแรกพบของผู้ชมที่มีต่อเว็บ ว่าน่าไว้ใจแค่ไหน จะเหมาะสมกับผู้ใช้หรือไม่

    ตัวอย่างที่ดี


    ดี เพราะ ละเอียด ตื่นตา น่าสนใจ แต่ก็เรียบง่ายในขณะเดียวกัน

    ตัวอย่างที่ไม่ดี



    ไม่ดี เพราะ ยุ่งเหยิง มีขีดเส้นมากมายที่ไม่ได้ช่วยเป็นส่วนประกอบในการสื่อสาร หาเมนูได้ยากไม่โดดเด่น มีลายเส้นที่เบี่ยงเบนความสนใจของสายตามากไป
  2. เนื้อหาอยู่กึ่งกลาง

    จากที่เคยกล่าวถึงไปเมื่อบทความก่อนหน้านี้ evolution of css layout ว่าหน้าเว็บในปัจจุบันเริ่มถูกออกแบบให้มีเนื้อหาอยู่กึ่งกลาง ตอนนี้เราก็สรุปได้แล้วว่าการวางเนื้อหาไว้ตำแหน่งกลางหน้าเว็บนั้น เป็นหลักการออกแบบที่ดีของดีไซน์ยุค 2.0
    ซึ่งเหตุผลก็คือ การวางเนื้อหาไว้กึ่งกลางหน้าเว็บนั้น สามารถแสดงถึงความเรียบง่าย และตรงไปตรงมาได้ และจากการที่เราใช้จำนวน pixel อย่างประหยัดทำให้เราไม่ถูกกดดัน ให้ยัดเยียดเนื้อหาจำนวนมาก ไว้ในพื้นที่เล็กๆ เราสามารถสื่อได้มากกว่าจากความเรียบง่าย และเหตุผลเดียวที่เราอาจจะไม่เลือก ที่จะออกแบบเนื้อให้อยู่กึ่งกลางหน้าเว็บ คือ กรณีที่เราต้องการยัดเนื้อหาไว้ในหน้าเว็บเยอะๆ อย่างเช่น หน้าเว็บของ web application
  3. น้อยคอลัมน์

    เมื่อไม่กี่ปีก่อนเราจะเห็นหลายๆเว็บแบ่งเนื้อหาในหน้าเว็บเป็น 3-4 คอลัมน์ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้แค่ 2 คอลัมน์ หรืออย่างมากก็ 3 เข้าข่ายยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่จัดให้หน้าเว็บอยู่กึ่งกลางจอด้วย ทำให้เราไม่ต้องบรรจุเนื้อหาให้เต็มหน้าจอ และเราก็ไม่จำเป็นต้องใช้คอลัมน์จำนวนมากในการสื่อสาร แค่ใช้คอลัมน์ที่จำเป็น ที่ได้เลือกและคัดสรรค์มาแล้ว ทำให้เรียบง่ายกว่า ตรงไปตรงมา และสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากว่า

    ตัวอย่างที่ดี


    ดี เพราะ คอลัมน์ที่เลือกใช้ เป็นคอลัมน์ที่ได้คัดสรรค์เลือกมาอย่างดีแล้ว ว่าคอลัมน์นั้นๆเป็น คอลัมน์ที่จำเป็นต้องมี

    ตัวอย่างที่ไม่ดี


    ไม่ดี เพราะ แต่ละคอลัมน์ไม่มีอะไรโดดเด่นขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถกำหนดได้ว่าควรจะมองที่ตรงไหนก่อน ทุกคอลัมน์มีความสำคัญเท่ากันหมดซึ่งทำใหดูกลืนเข้าไปในหน้าเว็บ

    ตัวอย่างที่ใช้หลายคอลัมน์ได้


    ที่สามารถใช้ได้หลายคอลัมน์เพราะแต่ละคอลัมน์ได้ถูกออกแบบ แยกสัดส่วนมาอย่างชัดเจน ว่าด้านซ้ายเป็นเมนู ตรงกลางเป็นสินค้าซึ่งถูกแบ่งโดยช่องว่าง ทำให้ไม่ดูรกตา
  4. แยกส่วนหัวของหน้าเว็บอย่างชัดเจน

    หมายถึงการทำให้ส่วนหัวของหน้าเว็บซึ่งหมายถึงส่วนโลโก้และเมนู โดดเด่นขี้นมาจากส่วนอื่นๆ
    เทคนิคนี้ไม่ใช่อะไรที่ใหม่ มีการประยุกต์ใช้มานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ดี แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากขึ้นเป็นพิเศษ และได้มีการแบ่งสัดส่วนอย่างขัดเจนมากขึ้นดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้


    การแบ่งสัดส่วนหัวของหน้าเว็บไว้อย่างชัดเจนนั้นดีตรงที่ ได้แบ่งสัดส่วนให้แน่ชัดว่าส่วนไหนคือส่วนเริ่มของหน้าเว็บ ซึ่งเป็นการเน้นหลักการดีไซน์สไตล์ยุค 2.0 ที่ต้องการแสดงเนื้อหาอย่างหนักแน่น เรียบง่ายและตรงไปตรงมา
    และการแยกส่วนหัวของหน้าเวปนั้นสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ใช้สีที่โดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือดังเช่นตัวอย่างข้างต้น หรือจะใช้เส้นขีดแบ่งดังตัวอย่างต่อไปนี้ก็ได้

    หรือจะแค่วางโลโก้ไว้ข้างนอกเนื้อหาดังตัวอย่าง
  5. แยกส่วนต่างๆของหน้าเว็บอย่างชัดเจน

    ส่วนต่างๆของหน้าเว็บประกอบไปด้วย
    • เมนู
    • พื้นหลัง
    • เนื้อหา
    • ส่วนอื่นๆ
    • ลิงค์
    การที่จะจัดกลุ่มแบ่งแยกส่วนต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุดคือการเล่นสี


    แต่การใช้ช่องว่างก็สำคัญไม่แพ้กัน
    ข้อควรระวังของการเล่นสีคือ สีสรรคต่างๆจะดึงดูดความสนใจไปจากเนื้อหาที่สำคัญ ดังนั้นการวางเนื้อหาลงบนผืนผ้าใบที่ขาวสะอาดจะช่วยให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  6. เมนูเรียบง่าย

    เมนูหลักของหน้าเว็บควรมีสักษณะโดดเด่น สังเกตุเห็นและมองออกได้ง่ายว่าเป็นเมนู โดยการใช้ font ที่หนาใหญ่สะอาดและชัดเจน รวมถึงลิงค์ต่างๆในเนื้อหาควรดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือ

    เพราะ เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์ของเราบอกได้ว่าส่วนไหนเป็นเมนู เพื่อให้รับทราบถึงข้อมูลต่างๆว่า
    • ตอนนี้อยู่ที่จุดไหนแล้ว
    • สามารถไปที่ไหนได้อีก
    • แสดงทางเลือกต่างๆให้ชัดเจน
    เราสามารถทำให้เมนูดูโดดเด่นได้โดย
    • แยกส่วนออกมาจากเนื้อหา
    • ทำให้ดูแตกต่าง โดยใช้โทนสี และรูปร่าง
    • ใช้ตัวใหญ่และหนา
    • ใช้ภาษาที่ชัดเจนและเป็นสากลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
    สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ลิงค์และเมนูดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาส่วนที่ไม่ได้เป็นลิงค์
  7. โลโก้ตัวหนา

    สอดคล้องไปกับหลักการดีไซน์ยุค 2.0 เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและหนักแน่น
    ตัวอย่างโลโก้ดังต่อไปนี้เป็นขนาดจริง สังเกตุได้ว่าขนาดจะค่อนข้างใหญ่

    คุณสมบัติของโลโก้
    • แสดงออกให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
    • จำได้ง่ายและแตกต่าง
    • เป็นตัวแทนภาพลักษณ์
  8. ตัวอักษรตัวใหญ่

    เว็บดีไซน์ยุค 2.0 มีการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับเว็บสไตล์เก่าๆ การที่เราไม่ได้พยายามยัดเยียดเนื้อหาทำให้เรามีพื้นที่มากขึ้น และทำให้สามารถที่จะเลือกทำให้สิ่งสำคัญมีขนาดใหญ่กว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้งานที่ผ่านมาได้แก่การใช้ตัวอักษรใหญ่สำหรับหัวข้อต่างๆ
    การใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนสายตาสั้น ผู้อ่านที่อ่านผ่านๆ ผู้คนที่นั่งห่างไกลจากจอ หรือผู้ใช้จอ LCD ภายใต้แสงแดด


    ถึงกระนั้นเราก็ควรมีเหตุผลในการกำหนดว่าส่วนไหน ควรจะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ ให้ใช้เฉพาะกับส่วนที่สำคัญ เพื่อกำหนดความโดดเด่นหลังจากที่ได้เคลีย พื้นที่แล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าทำให้ดูใหญ่ไปหมด จะทำให้ดูรก และไม่ได้ผล ถ้าต้องการจุเนื้อหาที่มีความสำคัญพอๆกัน จำนวนมากควรคงขนาดตัวอักษรให้ตัวเล็กเท่าๆกัน
  9. ตัวอักษรแนะนำตัวหนา

    เป็นการสื่อข้อความหลักของเนื้อหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวอักษรกราฟฟิกมากกว่าตัวอักษรธรรมดา เนื่องจากนักออกแบบต้องการจะควบคุมสิ่งที่หน้าเว็บต้องการจะสื่ออย่างชัดเเจน


    แนะนำให้ใช้เมื่อเป็นสโลแกนหลักเท่านั้น
  10. สีสันสดใส

    สีสันที่สดใสมีคุณสมบัติในการดึงดูดสายตา เราสามารถใช้สีที่ตัดกันแบ่งส่วนต่างๆของหน้าเว็บ หรือกำหนดให้ส่วนที่สำคัญดูโดดเด่นขึ้นมาได้


    แต่ก็ควรระวังไม่ใช้สีสดเกินไปล้อมรอบเนื้อหา เพราะจะทำให้สายตาถูกดึงหนีไปจากเนื้อหาหลัก ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

    แล้วก็อย่าลืมว่าการที่จุดนึงในหน้าเว็บจะดึงดูดสายตาได้ด้วยสีสันที่สดใส สีในจุดอื่นๆก็ควรจะอ่อนลงตามความสำคัญ มิฉะนั้นจะทำให้หน้าเว็บดูสับสนและยุ่งเหยิง
  11. มีลูกเล่นบนพื้นผิว

    ลูกเล่นต่างๆบนพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นการเล่นแสงเงาหรือการไล่สีให้เป็นสามมิติเล็กน้อย ทำให้ภาพกราฟฟิคต่างๆดูเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและดูเสมือนวัตถุจริง ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนไฟเบอร์

    หรือพลาสติกเงา

    เทคนิคนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อเราทำให้หน้าเว็บมีส่วนที่เป็นสามมิติเพียงเล็กน้อยเพื่อเน้นความโดดเด่นเท่านั้น การทำให้ทุกอย่างเป็นสามมิติไปหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะจะลดความเด่นของสิ่งที่เราต้องการที่จะเน้น และทำให้โหลดช้า
  12. ไล่เฉดสี

    การไล่เฉดสีสามารถ สร้างมิติ และ กำหนดบรรยากาศของหน้าเว็บได้


    มีการนำมาใช้ให้ดูเป็นเงา หรือนำมาใช้บนปุ่มเมนู
  13. เงาสะท้อน

    มีหลักๆอยู่ 2 แบบคือ
    • เงาสะท้อนบนพื้นผิวของตัววัตถุเอง
    • และเงาสะท้อนบนพื้นผิวที่วัตถุวางอยู่
    หรือจะนำมาประยุกต์ใช้ให้วัตถุมีเงาสะท้อนบนกลับไป บนพื้นผิวของตัววัตถุเอง ก็จะได้ภาพกราฟฟิคที่น่าสนใจและสวยงาม
  14. Icon น่ารัก

    ไอคอนต่างๆมีบทบาทมากขึ้นในดีไซน์ยุค 2.0 ปัจจุบันเราเลือกที่จะใช้ไอคอนจำนวนน้อยลง แต่มีความหมายมากขึ้น
    การใช้ไอคอนจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมองออกได้ง่าย และสื่อสารความหมายได้อย่างชัดเจน
    ในอดีตได้มีการใช้ไอคอนมากเกินไป เช่นใช้กับทุกเมนูที่มี ซึ่งปัจจุบันเรานิยมที่จะใช้ตัวอักษรที่สื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจนกว่าและไม่ทำให้หน้าเว็บรกไปด้วยไอคอน
    เราจะนำไอคอนมาใช้ในจุดที่สำคัญเท่านั้น
  15. ป้ายดาว

    ควรใช้เพื่อดึงดูดสายตาไปยังสิ่งที่สำคัญจริงๆเท่านั้น และไม่ควรใช้เกิน 1 ดาวต่อ 1 หน้า


ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้หลักการพวกนี้ทั้งหมด เพื่อให้เว็บมีหน้าตาเป็น 2.0 และการใช้หลักการออกแบบดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้หน้าเว็บ มีรูปแบบที่ดีเสมอไป แต่การออกแบบหน้าเว็บให้มีความเหมาะสม และพอดีกับเนื้อหา และสิ่งที่ต้องการจะสื่อต่างหากที่สำคัญ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้ง Feedjit ผ่านทาง Bloger

การติดตั้ง Feedjit ผ่านทาง Blogger Blog

หากเว็บไซต์ หรือ Weblog ของท่านใช้ถูกสร้างขึ้นโดย Blogger.com ก็จะมีขั้นตอนการนำ Feedjit ไปติดตั้งดังนี้
เลือก Install Feedjit on my: Blogger Blog แล้ว คลิก Go!
clip_image016
จะขึ้นหน้าต่างดังรูป คลิก Click to open a new window and install on Blogger
clip_image018
Log in เข้าบัญชี Blogger.com ของเรา
clip_image020
เลือก Blog ที่เราต้องการติดตั้ง Feedjit แล้วคลิก “เพิ่มเครื่องมือ”
clip_image022
เลือกตำแหน่งที่ต้องการวาง Feedjit
clip_image023

เสร็จแล้วดูตัวอย่าง Feedjit ที่ หน้า Blog

clip_image024

การรับข่าวจาก RSS

โปรแกรมที่สามารถรับข่าวสารรูปแบบอาร์เอสเอสได้นั้น ปัจจุบันมีอยู่มากมาย เช่น
  • Mozilla Firefox รุ่นเวอร์ชั่น 2 ขึ้นไป (เว็บเบราว์เซอร์) - แนะนำให้ใช้
  • Microsoft Internet Explorer รุ่นเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป (เว็บเบราว์เซอร์)
  • Apple Safari รุ่นเวอร์ชั่น 3 ขึ้นไป (เว็บเบราว์เซอร์)
  • Google Chrome (เว็บเบราว์เซอร์)
  • Google Reader (เว็บไซต์)
  • เป็นต้น

Web 2.0 คืออะไร ?

Web 2.0 คิดว่าหลายๆคนคงเคยได้เห็น Web 2.0 บน Internet กันมาสักพักนึงแล้ว บางคนคงส่งสัยว่ามันคืออะไร หลายๆคนคิดว่าคงเป็นมาตรฐานใหม่ และมีอีกไม่น้อยที่คิดว่ามันคือ Software รุ่นใหม่จาก Microsoft หรือ Google แต่จริงๆแล้ว Web 2.0 ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ไปกว่าปัจจุบัน แต่มันเป็นยุคสมัยที่เปลี่ยนไปต่างหาก

ปัจจุบันวิถีการใช้ Internet ของชาว Cyber เปลี่ยนไปจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามาก เมื่อก่อน(ก็แค่ 2-3 ปีที่แล้ว) เรารู้จักที่จะใช้ Internet เพื่อ ส่ง Email, คุยกับเพื่อนด้วย Chat Room หรือ IM, Download โปรแกรมใหม่, Search หาข้อมูล, แลกเปลี่ยนความเห็นที่ Web Board, อ่านข่าว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือ Feature หลักๆที่เราใช้งาน แต่ลองมาคิดถึงปัจจุบันเรากลับใช้ Internet เพื่อ เขียน BLOG, แชร์ Photo, ร่วมเขียน Wiki, Post Commment ในข่าว, หาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่ Desktop, และ Google จะเห็นได้ว่าวิถีการใช้ชีวิตบน Internet ของชาว Cyber เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว

"ตอนนี้ฉันเลิกดู TV มาได้เดือนครึ่งแล้ว และถ้าฉันไม่ต้องกิน เข้าห้องน้ำ หรือมี Sex บางทีฉันอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริงอีกต่อไป" นี่เป็นคำพูดใน Blog ของ Daneane Gallardo
คำกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง รวมถึงพฤติกรรมการใช้ Internet ได้เป็นอย่างดี และนี่เป็นที่มาของ Web 2.0 หรือยุคใหม่ของ Internet ที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิง

จาก Web 2.0 Conference ครั้งที่ผ่านมา ได้มีการวาด Mime Map ขึ้นมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Web 2.0 ได้อย่างชัดเจน
Resized to 99% (was 508 x 383) - Click image to enlargePosted Image


จากนวตกรรมใหม่ๆ และแนวคิดที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ เราจึงได้รู้จัก Concept ของ Blog, tags, Ajax, podcasts เชื่อหรือไม่ concept เหล่านี้พึ่งเกิดขึ้นได้ไม่ถึงปี!!

พฤติกรรมการใช้ internet ทำให้คำว่า Web ไม่ใช่แค่ Noun อีกต่อไป แต่มันเป็น Verb เสียแล้ว เป็นการติดต่อ 2 ทาง และผู้ใช้เองนั่นและเป็นผู้สร้าง Content ไม่ใช่ Content Provider อีกต่อไป

กลับมามองที่ประเทศไทยเราบ้าง ประเทศไทยของเราตอนนี้เข้ามาถึงยุคของ Web 2.0 แล้วหรือยัง ถ้ามองที่ผู้ใช้ในความเห็นผม ถือว่าเราได้อยู่ใน Web 2.0 แล้ว ดูได้จากจำนวน Blog ที่เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หรือ Photo Sharing ที่นับวันจะมีการแชร์รูปกันมากขึ้น และการแสดงความคิดเห็นตาม Content หรือ Web board ต่างๆ เห็นได้จาก Manager Online แต่หากกลับมามองที่เทคโนโลยีละ เราถึง Web 2.0 แล้วหรือยัง ... ในมุมมองของผมคือ ยัง ไม่ว่าจะทั้งทางด้านเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้ Concept และแนวคิดต่างๆ เรายังมีให้เห็นน้อยมาก การใช้เทคนิคเช่น CSS Layout หรือ Ajax มีให้เห็นน้อยมาก หรือไม่มีเลย แนวคิดเรื่อง Tags, Podcasts ก็ไม่มีอีกเช่นกัน

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะร่วมกันพัฒนา Web Site ของเมืองไทยเรา ให้ตรงกับความต้องการกับผู้ใช้ในประเทศ ที่ TrueLife ผมพยายามนำ Concept และแนวคิด Web2.0 มาใช้ให้มากที่สุด ทั้งที่ทำออกไปแล้ว หรือที่กำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้ ที่ Exteen.com ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ผมเฝ้าดูความพยายามอยู่เช่นกัน ผมหวังว่าพวกเราที่ Narisa.com ชุมชนของ Developer ที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย จะได้ร่วมใจกันพัฒนานำทั้งเทคโนโลยี และแนวคิดใหม่ๆของ Web2.0 มาใช้ให้เกิดประโยชน์กัน และถ้าเป็นไปได้ ก็สร้างนวตกรรมใหม่ๆขึ้นมา

อย่างคำว่า white board ที่มีการกล่าวถึงใน Forum ของพวกเรา ก็เป็น concept ที่ดี ผมอยากจะสนับสนุนให้มีแนวคิดใหม่ๆแบบนี้อยู่เสมอ ผมอยากให้พวกเรามีส่วนร่วมกับประวัตศาสตร์ใหม่ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้ ไม่ใช่รับมาแต่จากเมืองนอกอย่างเดียว พวกเรามาช่วยกันพัฒนาวงการซอฟแวร์ไทยให้ก้าวสู่ web2.0 ด้วยกันเถอะครับ และถ้าให้ดีกว่านั้น ถ้าเราสามารถก้าวแซงไปที่ web2.1 ได้ยิ่งดีครับ

=======================================================
ปัจจุบันผมไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ TrueLife มาตั้งแต่ต้นปี 2006 อีกทั้งตอนนี้ Web
TrueLife ได้เดินไปในเส้นทางที่ผิดกับความมุ่งหวังและแนวคิดของผมและทีมงานไปมาก
รู้สึกเสียดาย และรู้สึกผิดหวังกับแนวทางที่มุ่งเน้นแสวงหากำไร มากกว่าพัฒนาสังคมอยู่พอควร
แต่ในเมื่อเราไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้อีก จึงต้องขออภัยมาในที่นี้ด้วยที่ไม่สามารถ
ทำ TrueLife ให้เป็นไปอย่างที่คาดหวังดังเดิม

ลาก่อน TrueLife หวังว่าคงจะพบเส้นทางใหม่ที่ดี ถึงแม้จะไม่ใช่เส้นทางที่พวกผมเคยวาดฝันไว้ก็ตาม
=======================================================

Attached image(s)

  • Attached Image

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

RSS คืออะไร

              ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มี การแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา


ข้อดีของ RSS

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น

จุดเด่นของ RSS

คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS

สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ

เว็ป 2.0 คืออะไร

เว็บ 2.0คืออะไร?

                             เว็บ 2.0 คือเวอร์ชั่นของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ มันคือรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในด้านการออกแบบเว็บไซต์ คือ ออกแบบมาให้ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลได้ง่าย แพร่กระจายเร็วส่งเสริมให้เรามีอิสระในการคิด ดีไซด์พื้นที่ในอินเทอร์เน็ตของเราได้มากขึ้น คือถ้าจะยกให้แตกต่างเลย จะดูได้จาก คุณสมบัติด้านแลกเปลี่ยนข้อมูล เว็บ 2.0 สนับสนุน แลกไฟล์ง่าย ดาวน์โหลดง่าย อัพโหลดง่าย ก็เหมือนกับ..บล็อก.. บล็อกนี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดจาก เว็บ 2.0 ยกตัวอย่างให้ง่ายกว่านั้น ก็ hi5 พวกนี้จะดีไซด์หน้าตาด้วยตัวเราได้
จะใช้พวก html, RSS Feed, ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องรู้ภาษามากนักคุณสมบัติเว็บ 2.0 ส่วนใหญ่ จะมีCSS ช่วยในการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ API, JSON, REST และ XML มีการให้บริการข้อมูลที่มีการส่งผ่านมาจากเว็บไซต์ที่ให้บริการข่าว บล็อก หรือข้อมูลต่างๆ มาในลักษณะข้อมูลสั้นๆ ในรูปแบบ RSS หรือ Atom

นิยาม                            
                                    
                            เว็บ 2.0 นั้นมีคำจำกัดความหลายอย่าง ทิม โอไรล์ลีย์ ได้กล่าวไว้ว่าเว็บ 2.0 เปรียบเหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมีลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกัน ภายใต้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวม โอไรล์ลีย์ ได้แสดงตัวอย่างของระดับของเว็บ 2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้
ระดับ 3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย สไกป์ อีเบย์ เครกส์ลิสต์
ระดับ 2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่งโอไรลลีย์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ ฟลิคเกอร์ เว็บไซต์อัพโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
ระดับ 1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ไรต์รีย์ (ปัจจุบันคือ กูเกิลดอคส์) และ ไอทูนส์
ระดับ 0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น แมปเควสต์ และ กูเกิล แมปส์

เทคโนโลยีสารสนเทศคือ ?

เทคโนโลยีสารสนเทศ
            หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้


การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ
       ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์
       การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)


การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้
       เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน
       การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ
       ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จากส่วน
       สำคัญที่เรียกว่า ชิพในหน่วยซีพียู

การแสดงผลลัพท์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์
       ซึ่งสามารถเป็นตัวหนังสือ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์
       หรือเสียง


การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้
       ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการ
       เก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์
       เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ CD-RON

การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยัง
       อีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจส่งกระจายไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ อุปกรณ์
       ที่ใช้ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
       คลื่นวิทยุ ดาวเทียม ฯลฯ